วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

โครงสร้างงานโรงแรม

 โครงสร้างการบริหารงานโรงแรม
HOTEL ORGANIZATION CHART
เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานความเข้าใจ ก่อนเริ่มต้นการเรียนรู้ในขั้นตอนต่อไป จึงขออธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของแผนผังการบริหารงานโรงแรม และสายงานการบริหาร ตามลำดับชั้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. คณะกรรมการบริหารโรงแรม Board of Director คณะกรรมการบริหารนี้มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายการบริหารงานของโรงแรมเพื่อให้การดำเนินงานภายในโรงแรมเป็นไปอย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของแต่ละฝ่ายได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ตลอดจนประเมินผลงานของฝ่ายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้จัดการทั่วไป General Manager ผู้จัดการทั่วไปมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการบริหาร และควบคุมการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายภายในโรงแรมให้ดำเนินไปตามเป้าหมายและนโยบายที่คณะกรรมการบริหารของโรงแรมกำหนดไว้ รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงแรมให้สามารถดำเนินงานไปอย่างราบรื่น และสอดคล้องกัน
3. รองผู้จัดการทั่วไป Resident Manager เป็นตำแหน่งที่รองจากตำแหน่ง General Manager บางคนก็เรียกเป็นตำแหน่งรองผู้จัดการทั่วไป (Assistant GM) นั่นเอง เรียกย่อๆ ว่า RM เป็นตำแหน่งที่รับนโยบายโดยตรงจาก GM มาบริหารจัดการและประสานงานกับแผนกต่างๆ  ส่วนใหญ่ RM จะดูแลในส่วนของห้องพัก หรือ Rooms นั่นเอง คล้ายๆ กับตำแหน่ง Room Division Manager
4. ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป Executive Assistant Manager  หน้าที่ของผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป มีดังนี้
ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้จัดการทั่วไป ตรวจสอบผลการปฏิบัติของฝ่ายต่าง ๆ ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน สร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ภายในโรงแรม ให้คำปรึกษาและคำเสนอแนะเพื่อปรับปรุงงานแก่ผู้จัดการทั่วไป
5. ผู้จัดการฝ่ายอาหารและเครื่องดื่ม Food & Beverage Manager มีหน้าที่สรรหา คัดเลือกและฝึกอบรมพนักงาน วางแผนและควบคุมการจัดซื้อ ของ ดูแลให้การจัดเตรียมอาหารเป็นไปอย่างราบรื่นโดยมีมาตรฐานสูง ตลอดจนกำหนดและควบคุมงบประมาณ ที่เกี่ยวข้อง
6. ผู้จัดการประจำฝ่ายต่าง ๆ (Resident Manager) หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในฝ่ายนั้น ๆ โดยเฉพาะ จึงได้รับมอบหมายงานของฝ่ายต่าง ๆ
7. หัวหน้าพ่อครัว Executive Chef เป็นตำแหน่งเบอร์หนึ่งที่ดูแลทางด้านอาหารโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารสำหรับลูกค้า และโรงอาหารสำหรับพนักงาน เป็นบุคคลสำคัญบุคคลหนึ่งที่จะต้องควบคุมดูแลคุณภาพอาหารที่ออกมาให้ได้คุณภาพและมีรสชาติที่อร่อย น่ารับประทาน บางโรงแรมอาจมีครัวเบอเกอรี่ ทาง Executive Chef ก็ต้องดูแลด้วยเช่นกัน นอกจากนี้งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Executive Chef นั่นก็คือ การควบคุมต้นทุนของอาหารที่ออกไปให้ได้ตามที่กำหนด หรือที่ภาษาโรงแรมมักใช้คำว่า ควบคุม Cost นั่นเอง
8. ผู้จัดการแผนกต้อนรับส่วนหน้า Front Office Manager มีหน้าที่ดูแลควบคุมให้การดำเนินงานของแผนกต้อนรับเป็นไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นหัวหน้าแผนก ต้องเกี่ยวข้องกับการคัดเลือกคนเข้าทำงานและให้การฝึกอบรม วางงบประมาณของแผนก และควบคุมค่าใช้จ่ายให้เป็นไปตามนั้น และคาดคะเนระดับอัตราการเข้าพักในอนาคต
9. หัวหน้าแผนกแม่บ้าน Executive Housekeeper ในบางโรงแรมแผนกแม่บ้านทั้งหมดจะขึ้นตรงกับผู้จัดการใหญ่ (General Manager) แต่บางโรงแรมหัวหน้าแม่บ้านก็ขึ้นตรงกับผู้จัดการส่วนหน้า (Front of House Manager) โดยงานหลักๆ ของหัวหน้าแผนกแม่บ้าน ได้แก่ การตรวจสอบงานส่วนต่างๆ ของแผนกว่าได้มาตรฐานที่วางไว้หรือไม่ ควบคุมงบประมาณค่าใช้จ่าย จัดตารางเวลาการทำงานของพนักงาน และการฝึกอบรม อีกทั้งต้องรับผิดชอบเรื่องกุญแจต่างๆ ที่จะแจกจ่ายไปให้พนักงานในโรงแรม และดูแลควบคุมห้องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดเอง แต่บางโรงแรมก็จะมอบหมายให้หัวหน้าแม่บ้านอาวุโสคนใดคนหนึ่ง ในการทำงานเป็นหัวหน้าแผนกแม่บ้านต้องทำงานประสานอย่างใกล้ชิดกับแผนกต้อนรับส่วนหน้าที่เกี่ยวกับห้องพักที่พร้อมจะขาย(ให้เช่า) ได้ อีกทั้งต้องประสานงานกับแผนกซ่อมบำรุงเพื่อให้ช่วยซ่อมอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจจะชำรุดเสียหายทั้งภายในห้องพักและบริเวณอื่นในโรงแรม
10. ผู้จัดการขายและการตลาด (Marketing/Sales) มีหน้าที่ในโรงแรมที่เป็นบทบาทในการขายทั้งสิ้น แต่บางคนก็มีหน้าที่ขายโดยตรง เช่น ในกรณีของพนักงาน ด้านบริการอาหารและเครื่องดื่ม แต่บางกลุ่มก็ขายโดยทางอ้อม เช่น แผนกช่วยทำความสะอาด ซึ่งจะช่วยให้โรงแรมขายได้โดยการทำงาน ที่มีคุณภาพ
  

Airline Code

A = Able
B = Baker
C = Charlie
D = Dog
E = Easy
F = Fox
G = George
H = How
I = Item
J = Jimmy
K = King
L = Love
M = Mike
N = Nancy
O = Oboe
P = Peter
Q = Queen
R = Roger
S = Sugar
T = Tare
U = Uncle  
V = Victor
W = William
X = X – ray
Y = Yolk
Z = Zebra

Hotel Code

A =Alfa
B =Bravo  
C =Charlie
D =Delta
E =Echo
F= Foxtrot
G= Golf
H =Hotel
I= India
J =Juliet
K= Kilo
L =Lima
M =Mike
N =November
O =Oscar
P =Papa
Q =Quebec
R= Romeo
S =Sierra
T =Tango
U =Uniform
V =Victor
W= Whisky
X =X-ray
Y =Yankee
Z =Zulu

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พ.ร.บ พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ 2522

หมวด ๓ : การร้องทุกข์และการสงเคราะห์                  
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๓ ให้ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และบรรดาพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ.๒๕๐๒ ซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นผู้ว่าการ รองผู้ว่าการและพนักงานหรือลูกจ้างของ ททท. แล้วแต่กรณี กับให้ถือว่าเวลาการทำงานของบุคคลดังกล่าวในองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นเวลาการทำงานใน ททท. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๔๔ บรรดาข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คงใช้บังคับต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้

คำศัพท์โรงแรม


Sheet - ผ้าปูที่นอน อย่างที่ทราบกันดีว่าการปูที่นอนที่โรงแรม 5 ดาวนั้น ต้องปูตึงขนาดเอาเหรียญโยนบนที่นอนแล้วต้องเด่งขึ้นมา และมาตรฐานการปูที่นอนแต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับ Chain ของโรงแรมเองและขึ้นอยู่กับดาวด้วย ไว้จะเขียนวิธีปูเตียงไว้ให้อ่านนะ คอยติดตามต่อไป

Cushion -
หมอนอิง
Headboard -
หัวเตียง
Night Table -
โต๊ะหัวเตียง
Radio -
วิทยุ
Telephone Directory -
สมุดโทรศัพท์
Note Pad -
กระดาษโน๊ต
Card TV -
ใบรายการทีวี
Remote Control -
รีโมทคอนโทรล
Kettle -
กาต้มน้ำ
Cup -
ถ้วยกาแฟ
Glass -
แก้วน้ำ
Stationery Folder -
แฟ้มเครื่องเขียน
Stationery -
เครื่องเขียน
Envelopes -
ซองจดหมาย
Letter Head -
กระดาษเขียนจดหมาย
Guest Comments -
ใบแสดงความคิดเห็น
Brochure -
ใบโฆษณา
Postcard -
โปสการ์ด
ชุดเข็มด้าย อันนี้ก็เป็น hotel logo set ของแต่ละโรงแรม เช่นกัน
Magazine -
นิตยสาร
Guest Directory -
ใบบอกรายละเอียด
Room Service Menu -
รายการอาหารที่สั่งจากห้องพัก
Bathrobes -
เสื้อคลุมอาบน้ำ
Coat Hook -
ตะขอแขวนหลังประตู

Sewing Kit -

คำศัพท์โรงแรม


Sleeper - รองเท้าแตะ
Floor -
อันนี้แปลว่า พื้น แต่ในชีวิตการทำงานจริงที่โรงแรมเรามักได้ยิน การเรียกว่า ฟลอร์ (floor) นั้น มักแบบว่า "ชั้น" เช่น แม่บ้านคน 1 พูด (housekeepers) : ชั้นกำลังทำห้อง ฟลอร์ 4 อยู่ นั้นหมายถึงห้องที่ชั้น 4
Toilet Seat -
ที่รองนั่งชักโครก
Toilet Bowl -
โถชักโครก
Tissue Roll -
กระดาษชำระ
Sanitary Bag -
ถุงใส่ผ้าอนามัย

คำศัพท์โรงแรม














Amenities - เครื่องใช้สำหรับอาบน้ำ
เช่น สบู่ก้อน (Soap)
สบู่เหลว (Bath Foam)
แชมพู (Shampoo)
Tissue Box - กล่องใส่กระดาษทิชชู
Cotton Buds - สำลีก้าน
Detergent - ผงซักฟอก
Shoe Mit - ผ้าเช็ดรองเท้า
Tooth Paste - แปรงสีฟัน

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ SWOT

เอวันพัทยาบีชรีสอร์ท (A-One Pattaya Beach Resort)
ถนนหาดพัทยาเหนือ 115/9 หมู่ 9 เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี 20150
เอวันพัทยาบีชรีสอร์ท (A-One Pattaya Beach Resort) เป็นโรงแรมระดับ 4 ดาวที่ให้การต้อนรับแบบไทยดั้งเดิม ตั้งอยู่ในจุดที่เงียบสงบของพัทยา โรงแรมชั้นนำแห่งนี้ขอต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการใช้วันพักผ่อนที่มีค่ากับครอบครัวด้วยความเป็นมิตร ไม่ว่าจะเป็นอาหารแสนอร่อยหรือความสนุกสนานเพลิดเพลินที่โรงแรมจัดให้ ล้วนแต่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันอันทันสมัย นอกเหนือจากที่กล่าวมา ทีมพนักงานมืออาชีพก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและคำแนะนำตลอดเวลา ลองจินตนาการถึงแดดยามเช้าพร้อมทะเลระยิบระยับ ผ่อนคลายบนหาดทรายใต้ต้นปาล์มที่โบกไหว และเพลิดเพลินไปกับค่ำคืนของเขตร้อนอันมีเสน่ห์ของสถานที่ที่เหมาะกับการพักผ่อนที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย หาดพัทยา ความฝันของคุณอยู่แค่เอื้อมเมื่อเข้าพักที่เอวัน พัทยา บีช รีสอร์ท (A-One Pattaya Beach Resort) ความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ท่ามกลางรีสอร์ทในพัทยา
หลัก 4P.
1. Product = ผลิตภัณฑ์
1.1 Strength  (จุดแข็ง)
บริการพี่เลี้ยงเด็ก
-Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะ
-อำนวยความสะดวกคนพิการ
1.2 Weakness (จุดอ่อน)
-ไม่มีคาสิโน
-นำสัตว์เลี้ยงเข้าพักไม่ได้
-ไม่มีห้องพักชั้นพิเศษ
1.3 Opportunity (โอกาส)
-สร้างสนามกอล์ฟ (สถานที่เดียวกัน)
-สร้างมาตรฐานของโรงแรมให้มีมาตรฐานมากขึ้น
-อาจจะมีการสร้างชายหาดส่วนตัว
1.4 Threat (อุปสรรค)
-ด้านการประสานและปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-ด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ
- ด้านการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
2.Price= ราคา
2.1 Strength  (จุดแข็ง)
-มีโปรโมชั่นในเรื่องห้องพัก
-มีโปรโมชั่นในด้านอาหารและเครื่องดื่ม
-มีโปรโมชั่นสำหรับเด็กเล็ก
2.2 Weakness (จุดอ่อน)
-ความคุ้มค่า
-ราคาของอาหารอาจแพงเกินไป
-เครื่องดื่มแพงเกินไปกว่าราคามาตรฐาน
2.3 Opportunity (โอกาส)
-อาจะมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับค่าห้องพัก
-อาจจะมีโปรโมชั่นพิเศษให้สำหรับเด็กเล็กกินฟรีอยู่ฟรี
-อาจจะมีโปรโมชั่นสำหรับค่าอาหารและเครื่องดื่ม
2.4 Threat (อุปสรรค)
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องของราคา
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องการบริการด้านโปรโมชั่น
-อาจเป็นเรื่องของค่าใช้จ่าย
3. Place = ช่องทางการจัดจำหน่าย
3.1 Strength  (จุดแข็ง)
-มีโปรโมชั่นในเรื่องห้องพัก
-มีโปรโมชั่นการลด 50% หรือลดค่าบริการอื่นให้
-มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ทันสมัย
3.2 Weakness (จุดอ่อน)
-เราอาจทำช่องทางการจัดจำหน่ายน้อยเกินไป
-มีโรงแรมคู่แข่งมากเกินและสูงเกินไป
-ช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่ดีพอ
3.3 Opportunity (โอกาส)
-อาจะมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับค่าห้องพัก
-อาจจะมีโปรโมชั่นพิเศษให้สำหรับเด็กเล็กกินฟรีอยู่ฟรี
-อาจจะมีโปรโมชั่นหรือกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
3.4 Threat (อุปสรรค)
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องของการจัดจำหน่าย
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องการบริการด้านโปรโมชั่น
-อาจยังไม่มีช่องทางการจำหน่ายมากพอสมควร
4. Promotion = การประชาสัมพันธ์
4.1 Strength  (จุดแข็ง)
-มีโปรโมชั่นในเรื่องห้องพัก
-มีโปรโมชั่นการลด 50% หรือลดค่าบริการอื่นให้
-มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่ทันสมัย
4.2 Weakness (จุดอ่อน)
-เราอาจทำช่องทางการจัดจำหน่ายน้อยเกินไป
-มีโรงแรมคู่แข่งมากเกินและสูงเกินไป
-ช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่ดีพอ
4.3 Opportunity (โอกาส)
-อาจะมีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับค่าห้องพัก
-อาจจะมีโปรโมชั่นพิเศษให้สำหรับเด็กเล็กกินฟรีอยู่ฟรี
-อาจจะมีโปรโมชั่นหรือกิจกรรมที่มีความหลากหลาย
4.4 Threat (อุปสรรค)
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องของการจัดจำหน่าย
-มีการแข่งขันกันสูงในเรื่องการบริการด้านโปรโมชั่น
-อาจยังไม่มีช่องทางการจำหน่ายมากพอสมควร